หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยที่กำหนดความแข็งแรงของตะแกรงเหล็กฉีก

ปัจจัยที่กำหนดความแข็งแรงของตะแกรงเหล็กฉีก

            ตะแกรง เหล็กฉีกเป็นการนำเหล็กแผ่นเรียบ มาฉีกถ่างออกเป็นตาตะแกรง จึงเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันหมดทั้งแผ่น และจากกระบวนการผลิตที่ใช้การฉีกถ่างออกนี้ทำให้เกิดอีกมิติหนึ่งของตะแกรง ขึ้นมานั่นคือด้านสันของตะแกรง(W) ดังนั้นปัจจัยที่จะบ่งชี้ความ แข็งแรงของตะแกรงเหล็กฉีกแต่ละรุ่นจึงมี 3 ปัจจัยคือ ความหนา,สัน,และความถี่ของตาตะแกรง แต่ละปัจจัยมีรายละเอียดดังนี้

1.ความหนา(T) หมายถึงความหนาของแผ่นเหล็กที่ ใช้ฉีก ซึ่งนอกจากความหนาจะเป็นปัจจัยบอกความแข็งแรงแล้วก็ยังเป็นปัจจัยที่บ่งบอก น้ำหนักร่วมกับขนาดของตาตะแกรงด้วย

2.สันตะแกรง(W) หมายถึงความกว้างของเส้นโลหะ ตะแกรง เกิดจากการเซ็ตเครื่องฉีกให้มีระยะห่างระหว่างรอยฉีกครั้งก่อนหน้ากับครั้ง ถัดไปถ้าหากยิ่งเซ็ตเครื่องให้ลงมีดฉีกถี่ๆด้านของสันก็จะน้อยแต่ถ้าลงมีด ห่างกัน ด้านสันก็จะกว้างตามระยะที่มีดฉีกเว้นออกไป ด้านสันมีส่วนช่วยสร้างความแข็งแรงของตะแกรงด้วย

3.ขนาดของตาตะแกรง(SWD,LWD) หมายถึงระยะห่างของช่องตะแกรงทั้งด้านสั้นและด้านยาว โดยปกติการวัดขนาดของตาตะแกรงจะวัดจากกลางเนื้อเหล็กฝั่งหนึ่งไปยังกลาง เนื้อเหล็กอีกฝั่งหนึ่ง(ไม่ได้วัดเฉพาะช่องว่างๆอย่างเดียว) หรืออาจวัดจากกลางช่องหนึ่งไปยังกลางช่องถัดไปก็ได้(สามารถศึกษาวิธีการวัด ตาเพิ่มเติมได้จากบทความก่อนหน้านี้) ขนาดของตาตะแกรงยิ่งเล็กตะแกรงก็จะยิ่งมีความแข็งแรงและน้ำหนักมากขึ้นไป ด้วย



วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เปรียบเทียบลวดสานชุบซิงค์กับลวดสานหุ้มพีวีซี

            ตาข่ายลวดสานหรือเชนลิ๊งค์(Chain Link) นั้น สามารถผลิตได้จากเส้นลวด 2 ชนิด คือ ลวดชุบซิงค์หรือลวดหุ้มพีวีซี โดยลวดทั้ง 2 ชนิดนี้นั้น มีข้อที่เหมือน,แตกต่าง และลักษณะที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ดังนี้

            สิ่งที่เหมือนกันของลวดชุบซิงค์กับลวดหุ้มพีวีซี
1.สามารถทำเป็นขนาดหน้ากว้างของแผงและขนาดตาได้เท่ากัน (ทั่วไปจะทำหน้ากว้างแผงละไม่เกิน 4 เมตร)
2.มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน
3.สามารถม้วนได้เหมือนกัน ทำให้ขนส่งได้ง่าย

ข้อแตกต่างของลวดชุบซิงค์กับลวดหุ้มพีวีซี ในเบื้องต้นมีดังนี้
1.ลวดชุบซิงค์สามารถนำไฟฟ้าได้ ขณะที่ลวดหุ้มพีวีซีไม่นำไฟฟ้า
2.ลวดชุบซิงค์อมความร้อนเมื่อตากแดดนานๆ ขณะที่ลวดพีวีซีไม่อมความร้อน
3.ลวดหุ้มพีวีซีมีโอกาสเกิดการกรอบได้ง่ายกว่าลวดชุบซิงค์

ดังนั้นโดยสรุปแล้ว การใช้งานหลักๆของตาข่ายลวดสานมักเป็นการใช้งานกลางแจ้ง จึงทำให้ลวดสานชุบซิงค์มีความเหมาะสมมากกว่าเนื่องจากจะทนน้ำและทนแดดได้ดี กว่าพีวีซีและยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย ทั้งนี้หากลูกค้าต้องการใช้งานประเภทอื่นก็สามารถปรึกษาหาวัสดุที่เหมาะสม ที่สุดกับทางผู้ขายได้อีกครั้งค่ะ

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

วิธีการขึ้นลายของเหล็กแผ่น



วิธีการขึ้นลายของเหล็กแผ่น

            การขึ้นลายหรือปรับรูปร่างของเหล็ก หรือโลหะชนิดอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วมีวิธีที่ใช้กันอยู่ 4 วิธี คือ
1.การปั๊ม (Stamping)
2.การหล่อ (Casting)
3.การทุบ (Forging)
4.การกัดแต่ง (Machining)

            แต่สำหรับโลหะที่เป็นแผ่นแล้ว จะมีวิธีที่ใช้กันมากในการขึ้นรูปลวดลายต่างๆอยู่วิธีเดียวคือ การปั๊ม(Stamping) เนื่องจากการปั๊มจะเหมาะสมกันโลหะแผ่นที่สุดด้วยเหตุผลดังนี้
1.ต้นทุนต่ำที่สุด
2.ชิ้นงานหลังการปั๊มสามารถใช้งานได้เลย ไม่ต้องตกแต่ง
3.ขนาดของลายที่ปั๊มเท่ากันทุกชิ้น
4.เพิ่มความแข็งให้กับแผ่นโลหะ

ทั้งนี้ การปั๊มก็มีข้อด้อยอยู่เช่นกันคือ จะไม่สามารถปั๊มแผ่นที่หนามากๆได้(ปั๊มไม่ลงหรือแม่พิมพ์เสียหาย) ดังนั้นหากลูกค้าจำเป็นต้องใช้แผ่นลายที่หนามากจริงๆ อาจต้องใช้วิธีการหล่อ(Casting)ขึ้นรูปขึ้นมา แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่ค่อยมีผู้รับทำและต้นทุนสูงมาก


วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

ทำไมเหล็กแผ่นจึงต้องปั๊มขึ้นลายก่อนใช้


ทำไมเหล็กแผ่นจึงต้องปั๊มขึ้นลายก่อนใช้
        ในการใช้เหล็กแผ่นเพื่อประกอบเป็นโครงสร้างภายนอกต่างๆ เช่น ผนัง,ปูพื้น,เพดาน เรามักนิยมใช้เหล็กแผ่นที่ปั๊มขึ้นลายก่อนเสมอ ด้วยเหตุผลดังนี้
1.การปั๊มขึ้นลาย จะทำให้เกิดความแข็งขึ้นทั่วๆตัวแผ่นเหล็ก ทำให้รับน้ำหนักได้ ไม่อ้อนแอ้นอย่างเหล็กแผ่นเรียบ
2.การปั๊มขึ้นลาย ทำให้เกิดความฝืดขึ้นบนแผ่น ทำให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและปลอดภัยในการใช้งานด้วย
3.การปั๊มขึ้นลาย ทำให้เกิดความสวยงามกว่าเป็นแผ่นเรียบ
ทั้งนี้ ในกระบวนการขึ้นลาย นอกจากการใช้การปั๊มซึ่งจะทำให้เกิดรอยนูนขึ้นด้านหนึ่งและเป็นร่องลึกลงอีกด้านหนึ่งแล้ว ในกรณีที่ต้องการใช้แผ่นที่มีความหนามากๆอาจต้องใช้การหล่อตามแม่พิมพ์เพื่อขึ้นลายด้วย โดยวิธีการหล่อขึ้นมานี้จะมีด้านที่เป็นลายนูนขึ้นมาอย่างเดียว อีกด้านหนึ่งจะเรียบ



http://www.chaiwattana3a.com

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ที่เหนือกว่าของตะแกรงแผ่นเจาะรู

            
            จากที่เราได้ทราบกันแล้วถึงความหลากหลายในการใช้ ประโยชน์ของตะแกรงเหล็กฉีก บทความนี้จะกล่าวถึงลักษณะเฉพาะตัวของตะแกรงแผ่นเจาะรูและประโยชน์ของตะแกรง แผ่นเจาะรูที่เหมาะสมกับงานบางชนิดยิ่งกว่าตะแกรงเหล็กฉีก เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะตัวของมัน ดังนี้
 
1.ตะแกรงแผ่นเจาะรูมีความเรียบและลื่น –จึงสามารถใช้งานในการร่อน,คัดกรอง ได้เป็นอย่างดี
2.ตะแกรงแผ่นเจาะรูไม่มีมุมที่แหลมคม – จึงสามารถใช้ในงานตกแต่ง,ทำผนัง,ราวกันตกได้อย่างปลอดภัย
3.ตะแกรงแผ่นเจาะรูมีความยืดหยุ่นอ่อนตัว – จึงสามารถพับเป็นรูปร่างต่างๆได้
4.ตะแกรงแผ่นเจาะรูสามารถเจาะรูได้หลากหลายและผสมผสานได้ตามแต่ตัวแม่แบบที่ใช้ – จึงสามารถสร้างสรรค์งานที่มีลวดลายหลากหลายกว่า

จากประโยชน์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ตะแกรงแผ่นเจาะรูจะมีต้นทุนที่สูงกว่าตะแกรงฉีก แต่ในบางงานนั้นตะแกรงแผ่นเจาะรูจะมีความเหมาะสมกว่ามาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้ตะแกรงแบบไหนให้เหมาะสมกับทั้ง งบประมาณที่มีและอรรถประโยชน์ที่ได้ ให้เกิดความลงตัวที่สุดนั่นเอง



วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

ขนาดตาของตะแกรงและตาข่ายลวดสาน

            ตะแกรง และตาข่ายลวดสานนั้น นอกจากขนาดของเส้นลวดแล้ว สเป็คที่ต้องระบุอีกอย่างหนึ่งของการสั่งของและการเลือกใช้งานก็คือขนาดตา หรือช่องของตะแกรง/ตาข่ายนั่นเอง
            ขนาด ตาของตะแกรง/ตาข่ายลวดสานนั้นจะแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ตะแกรงชนิดอื่นนั่นคือ ตะแกรง/ตาข่ายลวดสานจะมีวิธีการระบุขนาดของตาแยกออกไปอีกเป็น 2 ประเภท คือ ตาทั่วไป และ ตาพอดี ทำให้บางครั้งผู้ใช้งานเกิดความสับสนและบางครั้งได้สินค้าไปไม่ตรงกับสเป็ค ที่สั่งและอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงการได้โดยเฉพาะงานราชการหรืองาน ที่มีการตรวจสเป็คอย่างเข้มข้น

            เราอาจระบุลักษณะของตะแกรงลวดสานตาทั่วไปและตาพอดี และข้อที่แตกต่างกันได้ดังนี้
1.ตาทั่วไป – ตะแกรงลวดสานตาทั่วไป จะมีหยักตื้น แต่ละหยักจะห่างกัน ทำให้เวลาสานตะแกรงเข้าไปแล้วตาของตะแกรงจะห่างกว่าออร์เดอร์ที่สั่งจริง เช่น สั่งตา 1 นิ้ว อาจได้ตา 1 นิ้วกับอีก 1 หุน เป็นต้นด้วยลักษณะนี้เองทำให้ตะแกรงตาทั่วไป ใช้เส้นลวดน้อยกว่า ผลิตได้ง่ายกว่า และมีราคาถูกกว่านั่นเอง
          2.ตาพอดี – ตะแกรงลวดสานตาพอดี จะมีหยักที่ลึก แต่ละหยักจะถี่ๆติดกัน ทำให้สามารถสานตะแกรงลงหยักที่ทำให้ตาออกมาพอดีกับที่ลูกค้าสั่งได้ เช่น สั่งตา 1 นิ้วก็ได้ 1 นิ้วพอดีเป๊ะ ด้วยลักษณะนี้เองทำให้ตะแกรงตาพอดี ใช้ลวดมากกว่า ผลิตยากกว่า และมีราคาแพงกว่าตาทั่วไป

 ตะแกรงลวดสาน ตาทั่วไป  ตะแกรงลวดสาน ตาพอดี
            
               ในส่วนของตาข่ายลวดสานก็จะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน ถ้าลูกค้าสั่งทำตาทั่วไป การงอลวดเพื่อนำมาเกี่ยวเป็นตาข่ายอาจงอได้ขนาดใหญ่กว่าขนาดที่ลูกค้าสั่ง เช่น สั่งตา 1 นิ้ว อาจได้ตา 1 นิ้ว 2 หุน เป็นต้น

 http://www.chaiwattana3a.com/index.php

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความแตกต่างและลักษณะการใช้งานของตะแกรงลวดสานและตาข่ายลวดสาน

ความแตกต่างและลักษณะการใช้งานของตะแกรงลวดสานและตาข่ายลวดสาน

                ตะแกรง ลวดสานและตาข่ายลวดสาน ถึงแม้จะทำมาจากวัสดุชนิดเดียวกัน ชุบซิงค์มาแบบเดียวกัน แต่ตอนนำวัสดุมาทำเป็นชิ้นงานนั้นทำให้เกิดความแตกต่างกันอยู่พอสมควร โดยจะสามารถสรุปความแตกต่างระหว่างตะแกรงลวดสานและตาข่ายลวดสานได้ดังนี้
                1.ตะแกรง ลวดสาน นำลวดมาหยิกให้ขดเป็นตัวหนอน ลักษณะเส้นลวดหลังจากขดแล้วจึงเป็นเส้นแข็ง ไม่ยืดหยุ่น ในขณะที่ตาข่ายลวดสานเป็นการนำลวดมางอเพื่อสานเกี่ยวกันเป็นแผง จึงมีความยืดหยุ่นสูง
                2.ตะแกรงลวดสาน เมื่อสานเป็นชิ้นงานแล้วจะออกมาเป็นแผ่น ไม่สามารถม้วนได้ ในขณะที่ตาข่ายลวดสานสามารถม้วนได้ทำให้ขนส่งง่ายกว่า
                3.ตะแกรงลวดสานสามารถต่อกันแผงต่อแผงด้วยการเชื่อมเท่านั้น ในขณะที่ตาข่ายลวดสานสามารถเกี่ยวลวดต่อกันระหว่างแผงได้
                4.ตะแกรง ลวดสานมีความคงรูปไม่โอนอ่อนจึงสามารถนำขึ้นติดตั้งที่หน้างานได้ง่ายกว่า ขณะที่ตาข่ายลวดสานจะอ่อนและยืดหยุ่นสูง การติดตั้งจะต้องขึงและดึงให้ตึงก่อน

                จากลักษณะของตะแกรงลวดสานและตาข่ายลวดสานข้างต้น จึงพอสรุปได้ว่าแต่ละชนิดเหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้
                1.ตะแกรงลวดสาน เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงมากกว่าและติดตั้งในที่สูงได้ เช่น เพดาน,กรงสัตว์,ช่องกันนก,ราวกันตก เป็นต้น
                2.ตาข่าย ลวดสาน เหมาะกับงานที่ต้องการความยืดหยุ่นหรืองานที่มีลักษณะเป็นแผงยาวๆ เช่น รั้วสนามกีฬา,รั้วอาณาเขตที่ดิน,รั้วโรงงาน,ราวกันตกแบบที่มีความโค้งงอ เป็นต้น

ตะแกรงลวดสาน     ตาข่ายสาน    


วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

น้ำหนักของวัสดุแต่ละชนิดเมื่อเป็นแผ่นเต็มและเป็นแผ่นเจาะรู

น้ำหนักของวัสดุแต่ละชนิดเมื่อเป็นแผ่นเต็มและเป็นแผ่นเจาะรู


วัสดุที่นิยมใช้กันทั่วไปทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เหล็ก,สแตนเลส และอลูมิเนียม เมื่อเป็น แผ่นเรียบและแผ่นปั๊มลาย เต็มสเป็ค จะมีน้ำหนักดังนี้

เหล็ก น้ำหนักโดยประมาณ 23 กิโลกรัม ต่อความหนา 1 มิลลิเมตร
สแตนเลส น้ำหนักโดยประมาณ 23 กิโลกรัม ต่อความหนา 1 มิลลิเมตร
อลูมิเนียม น้ำหนักโดยประมาณ 8.2 กิโลกรัม ต่อความหนา 1 มิลลิเมตร

            ถ้าหากนำแผ่นวัสดุเหล่านี้ไปเจาะรู การจะคำนวณน้ำหนักหลังเจาะรูนั้น ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของรูที่ต้องการเจาะและระยะพิท(ความถี่-ห่างของรู)เป็นสำคัญ แต่หากต้องการคำนวณน้ำหนักหลังเจาะรูอย่างคร่าวๆแล้ว ก็สามารถกะประมาณโดยใช้วิธีการลบออกจากน้ำหนักแผ่นเต็มออกไป 30-40% ได้


^_^ เชิญสอบถามและขอแคตตาล็อคได้เลยนะคะ ^_^
คุณณัชชา 081-4250662 (DTAC) ,080-0488011 (GSM) , 086-5229402 (TRUE)


วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิธีการวัดขนาดรูของตะแกรงเหล็กฉีก

            ลูกค้า หลายท่านยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวัดขนาดรูของตะแกรงเหล็กฉีกอยู่ เนื่องจากการวัดขนาดรูของตะแกรงเหล็กฉีกนั้น จะแตกต่างจากการวัดขนาดรูของตะแกรงประเภทอื่นและแตกต่างจากความเข้าใจโดย ทั่วๆไปของผู้คนอยู่บ้าง
            การวัดขนาดรูตามความเข้าใจทั่วๆไปนั้น คือการวัดขนาดเฉพาะช่องที่เป็นรูเปิดเท่านั้น แต่การวัดช่องรูของตะแกรงเหล็กฉีก จะต้องวัดตัวเนื้อเหล็กซึ่งเป็นพื้นที่ทึบๆร่วมเข้าไปด้วย จึงจะได้ขนาดช่องรูที่ตรงตามมาตรฐาน JISG ของญี่ปุ่นที่นิยมใช้ในประเทศไทย
            ซึ่ง จากการที่เราต้องวัดขนาดเนื้อเหล็กร่วมเข้าไปด้วยนี้ จึงมีวิธีการวัดที่สะดวกอยู่ 2 วิธี คือ วัดจากกลางเนื้อเหล็กถึงกลางเนื้อเหล็ก และ วัดจากกลางช่องรูถึงกลางช่องรู ดังจะอธิบายด้วยรูปภาพดังต่อไปนี้







www.chaiwattana3a.com

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ที่มาของชื่อเรียก “แผ่นลายตีนเป็ด,แผ่นลายตีนไก่”


                แผ่นลายตีนเป็ด,ตีนไก่ เป็นสินค้าในหมวดหมู่แผ่นลายกันลื่น โดยเป็นลายที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในหมวดหมู่สินค้านี้

ที่มาของการเรียกชื่อลายนี้ว่าลายตีนเป็ด,ตีนไก่นั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา นั่นคือ เรียกตามความคล้ายกับลักษณะเท้าของสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนี้นั่นเอง โดยสามารถเปรียบเทียบได้ตามรูปต่อไปนี้

 
1.ลายตีนเป็ด จะมีลักษณะเป็นขีดติดกัน 5 ขีด คล้ายกับเท้าเป็ดที่จะมีผังผืดเชื่อมทุกนิ้วเข้าด้วยกัน


  2.ลายตีนไก่ จะมีลักษณะเป็นขีดเดียวไขว้กันไปมา คล้ายกับเท้าไก่ที่นิ้วแต่ละนิ้วจะแยกจากกัน

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ที่มาของชื่อ “ตะแกรงเหล็กฉีก”

ที่มาของชื่อ ตะแกรงเหล็กฉีก

                ตะแกรงเหล็กฉีก หรือ Expanded Metal (Expanded = ทำให้กว้าง,ขยายออก,ใหญ่ขึ้น) เป็นชื่อที่ใช้เรียกตะแกรงที่มีลักษณะตาข้าวหลามตัด แต่ละซี่ตะแกรงทำมาจากเหล็กแผ่นเดียวกัน ลักษณะสำคัญคือตัวตะแกรงจะเป็นต้องเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น ไม่มีรอยต่ะ
                จากลักษณะของตะแกรงเหล็กฉีกที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราพอจะทราบได้ไม่ยากว่า ชื่อตะแกรงเหล็กฉีกหรือ Expanded Metal ที่เราใช้เรียกกันก็มีที่มาจากกระบวนการผลิตตะแกรงนั่นเอง โดยกระบวนการผลิตตะแกรงให้มีลักษณะดังกล่าวนั้นจะต้องใช้เหล็กแผ่นเดียวเป็น เนื้อเดียวกัน มาเจาะแล้วฉีกถ่างออกเป็นตาของตะแกรงอย่างที่เราเห็นโดยห้ามมีการต่อของ เนื้อตะแกรง
                การ ตั้งชื่อตะแกรงตามลักษณะกระบวนการผลิตนี้ นอกจากจะใช้กับตะแกรงเหล็กฉีกแล้ว ยังมีตะแกรงอีกหลายชนิดที่ตั้งชื่อเรียกตามกระบวนการผลิตอีก เช่น ตะแกรงลวดสาน เป็นต้น  แต่ทั้งนี้ก็ ยังมีตะแกรงอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งใช้หลักการอย่างอื่นในการตั้งชื่อ เช่นอาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ที่ใช้งาน(ตะแกรงขัดข้าว,ตะแกรงคัดกรวด) หรือเรียกชื่อตามลักษณะรูปลักษณ์ของตะแกรง(ตะแกรงรูกลม,ตะแกรงรูสามเหลี่ยม) อีกด้วย